วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ตอบข้อ 1ชีวโมเลกุลมีความจำเป็นสำหรับการดำรงอยู่ของชีวิต ตัวอย่างเช่นมนุษย์ มีผิวหนังและขน ส่วนประกอบหลักของขนคือเคอราติน (keratin) ที่เกิดจากการจับกลุ่มกันเป็นก้อนของโปรตีน ซึ่งตัวมันเองก็เป็นพอลิเมอร์ที่ถูกสร้างจากกรดอะมิโน โดยกรดอะมิโนนั้นเปรียบเสมือนก้อนอิฐที่สำคัญในธรรมชาติที่จะประกอบ กันเป็นโมเลกุล ใหญ่ รูปแบบของก้อนอิฐอีกตัวหนึ่งคือ นิวคลีโอไทด์ (nucleotide) ซึ่งมีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ส่วนคือ
พูรีน (purine) หรือ ไพริมิดีน(pyrimidine) ซึ่งเป็นด่าง
น้ำตาล เพนโตส
ฟอสเฟตกรุป
นิวคลีโอไทด์เหล่านี้มีหน้าที่สร้าง กรดนิวคลีอิก (nucleic acid)
2. ความหมายของสารชีวโมเลกุล
ลักษณะที่สำคัญของสารชีวโมเลกุลเป็นดังนี้[1]
ประกอบด้วยธาตุขนาดเล็ก มีมวลโมเลกุลต่ำ เช่น C, H, O, N, S, P ธาตุชนิดอื่นมีพบบ้าง (เช่น Fe, Cu, Zn) แต่จัดว่าน้อยเมื่อเทียบกับน้ำหนักของร่างกาย แต่ก็มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตด้วย
เป็นสารประกอบของคาร์บอน โดยคาร์บอนจะเชื่อมต่อกันด้วยพันธะโควาเลนต์เกิดเป็นโครงร่างคาร์บอน จากนั้นอะตอมอื่นๆจะเติมเข้ามาในโครงร่างคาร์บอนนี้
อะตอมที่เติมเข้ามาเรียกว่าหมู่ฟังก์ชัน (functional group) ซึ่งเป็นตัวกำหนดลักษณะเฉพาะของโมเลกุลนั้นๆ
สารชีวโมเลกุลจะมีโครงสร้างสามมิติซึ่งมีบทบาทสำคัญในการทำงาน
สารชีวโมเลกุลส่วนใหญ่อยู่ในรูปอสมมาตร
สารชีวโมเลกุลจะเกิดจากหน่วยขนาดเล็ก (monomer) ที่มีโครงสร้างใกล้เคียงกัน จัดเรียงตัวเป็นโมเลกุลที่ใหญ่ขึ้น (polymer) การรวมตัวกันนี้ต้องใช้พลังงาน ส่วนการย่อยสลายโพลีเมอร์จะได้พลังงาน
3. ประเภทของชีวโมเลกุล
ชีวโมเลกุลขนาดต่างๆ ที่พบในธรรมชาติมีดังนี้:
โมเลกุลขนาดเล็ก:
ลิพิด, ฟอสโฟลิพิด, ไกลโคลิพิด, สเตอรอล
ไวตามิน
ฮอร์โมน, นิวโรทรานสมิตเตอร์
คาร์โบไฮเดรต, น้ำตาล
ไดแซคคาไรด์
โมโนเมอร์:
กรดอะมิโน
นิวคลีโอไทด์
ฟอสเฟต
โมโนแซคคาไรด์
พอลิเมอร์:
เปปไทด์, โอลิโกเปปไทด์, พอลิเปปไทด์, โปรตีน
กรดนิวคลีอิก, ได้แก่ DNA, RNA
โอลิโกแซคคาไรด์, พอลิแซคคาไรด์
แมคโครโมเลกุล:
พรีออน (Prion)
เอนไซม์
4. คาร์โบไฮเดรต
ดูบทความหลักที่ คาร์โบไฮเดรต
คาร์โบไฮเดรต เป็นสารอินทรีย์ที่ประกอบด้วย ธาตุ คาร์บอน (C) ไฮโดรเจน (H) และ ออกซิเจน (O) มีโ มเลกุลตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่มาก เป็นสารอาหารที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อสิ่งมีชีวิต เนื่องจาก เป็นสารอาหารสำคัญที่ให้พลังงาน และทำหน้าที่เป็นองค์ประกอบของเซลล์ต่าง และน้ำไขข้อในสัตว์
คาร์โบไฮเดรตสามารถจำแนกตามสมบัติทางกายภาพและ ทางเคมี ได้ 2 พวก คือ
พวกที่เป็นน้ำตาล
พวกที่ไม่ใช่น้ำตาล (แป้ง และเซลลูโลส)
คาร์โบไฮเดรตสามารถจำแนกตามโมเลกุล สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
โมโนแซคคาไรด์ (Monosaccharide) เป็นคาร์โบไฮเดรตในรูปน้ำตาลธรรมดาที่สุด (simple sugars) ตัวอย่างของ โมโนแซคคาไรด์ คือ
เฮกโซส (hexose) ได้แก่
กลูโคส (glucose)
ฟรุกโตส (fructose)
แกแลคโตส (galactose)
เพนโตส (pentose) ได้แก่
ไรโบส (ribose)
ดีออกซิไรโบส (deoxyribose)
ไดแซ็กคาไรด์ (Disaccharide) เกิดจากการรวมตัวกันของ โมโนแซคคาไรด์ 2 โมเลกุลตัวอย่างของ ไดแซคคาไรด์ คือ
ซูโครส (sucrose)
มอลโตส (maltose)
แลคโตส (lactose)
พอลิแซ็กคาไรด์ (Polysaccharide) เป็นการเชื่อมต่อกันของโมเลกุล โมโนแซคคาไรด์ เป็นสารประกอบซับซ้อนคาร์โบไฮเดรตที่ไม่มีรสหวาน เป็นโมเลกุลขนาดใหญ่ที่มีกิ่งก้านสาขาเชื่อมต่อ ไม่ละลายน้ำ ไม่เป็นผลึก ตัวอย่างของ พอลิแซคคาไรด์ คือ
แป้ง (starch)
เซลลูโลส (cellulose)
ไกลโคเจน (glycogen)
5. ไขมัน
ดูบทความหลักที่ ไขมัน
ไขมันประกอบด้วย คาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน โมเลกุลของไขมัน ประกอบด้วยกรีเซอรีน 1 โมเลกุล และกรดไขมัน 3 โมเลกุล ซึ่งอาจเป็นกรดไขมันชนิดเดียวกันหรือต่างกันได้ ไขมันมีหลายชนิด แล้วแต่ชนิดของกรดไขมันที่เป็นส่วนประกอบ ไขมันในอาหาร ประกอบด้วย ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides) เป็นส่วนใหญ่ และ โคเลสเตอรอล (Cholesterol) เป็นส่วนน้อย ไตรกลีเซอไรด์เมื่ออยู่ในรูปของแข็งที่อุณหภูมิห้องปกติจะเรียกว่าไขมัน(Fat) หากเป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้องปกติจะเรียกว่าน้ำมัน(Oil)
5. 1. โคเลสเตอรอล
เป็นไขมันที่ไม่จัดเป็นสารอาหาร เนื่องจากในร่างกายสร้างได้เองและเพียงพอ ไม่มีในพืช มีแต่ในสัตว์ ได้แก่ สมอง ไข่แดง หอย กุ้ง ปู เนย เครื่องในสัตว์ เป็นสารเบื้องต้นในการสร้างฮอร์โมนเพศทุกชนิด สร้างน้ำดี ฯลฯ กรดไขมันอิ่มตัวจะรวมตัวกับโคเลสเตอรอล เกาะตามผนังหลอดเลือด ทำให้เกิดการอุตัน การรับประทานกรดไขมันจำเป็น เช่น ไลโนเรอิก จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดอุดตันได้ ไตรกลีเซอไรด์เป็นไขมันที่เกิดจากปฏิกิริยาเคมีระหว่างกรดไขมันกับกลีเซอรอล เป็นส่วนใหญ่ของไขมันที่อยู่ในอาหาร และเป็นองค์ประกอบถึง 99% ในน้ำมันพืช เป็นแหล่งพลังงาน ที่สำคัญ
ไขมันทั่วไป เกิดจากกรดไขมันกับแอลลกอฮอล์ ในโมเลกุลไขมันจะประกอบด้วย กลีเซอรอล และกรดไขมัน แบ่งออกเป็นสามชนิดคือ
ไขมัน
น้ำมัน
ขี้ผึ้ง
ไขมันเชิงประกอบ
ไขมันเชิงประกอบ เป็นไขมันที่สารอื่นอยู่ด้วยนอกเหนือจาก คาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน PO4 , N, S เช่นฟอสฟอลิปิด ส่วนใหญ่ฟอสฟอลิปิดจะเป็นองค์ประกอบหลักของเยื่อหุ้มเซลต่างๆ
ไขมันอื่นๆ ได้จาก 2 พวก แรกทำปฏิกิริยากัน
ที่มา http://wapedia.mobi/th/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A5#1.

ตอบข้อ 2โครงสร้างของโปรตีน
โครงสร้างระดับปฐมภูมิ (Primary structure) กรดอะมิโนเชื่อมต่อกันเกิดเป็นสาย โดยใช้พันธะโคเวเลนซ์ที่เกิดระหว่างหมู่ a-อะมิโนของกรดอีกตัวหนึ่ง เรียกชื่อพันธะนี้อย่งจำเพาะได้ว่าพันธะเพปไทด์ (peptide bond) และเรียกสายของกรดอะมิโนว่า สายเพปไทด์ โดยอาจเรียกเพปไทด์สายสั้นๆ หรืออลิโกเพปไทด์ (oligopeptide) ตามจำนวนกรดอะมิโน องค์ประกอบ เช่น เพนทะเพปไทด์ เกิดจากกรดอะมิโน 5 ตัว พอลิเพปไทด์ เกิดจากกรดอะมิโนจำนวนมาก เป็นต้น การเรียกชื่อโดยระบุกรดอะมิโนองค์ประกอบทำได้โดยเรียงจากปลายด้านอะมิโนหรือปลาย N (N-terminal) ไปปลายด้านคาร์บอนซิลหรือปลาย C (C-terminal) เช่น อาจเรียกเททระเพปไทด์ (tetrapeptide) ในรูปที่ 5.6 ว่า ไกลซิล-แอสพาร์ทิล-ไทโรซิล-ซีริน (glycyl-aspartyl-tyrosyl-serine) และเขียนสัญลักษณ์แทนได้หลายแบบ ลำดับของกรดอะมิโนในสายพอลิเพปไทด์ที่แตกต่างกันนี้คือ โครงสร้างปฐมภูมิ
โครงสร้างทุติยภูมิ (Secondary structure)โครงสร้างทุติยภูมิที่พบในโปรตีน ได้แก่ โครงสร้างรูปเกลียว (helix) รูปแผ่นพับ (pleated sheet) และรูปหัก (turn)โครงสร้างรูปเกลียว (Helical structure)เป็นโครงสร้างทุติยภูมิ ที่พบทั่วไป ในปี ค.ศ. 1951 Pauling ได้ค้นพบโครงสร้างนี้ จากการศาสตร์รังสีเอกซ์ของโปรตีน พอลิเพปไทด์ที่สร้างขึ้นจากกรดอะมิโนรูป L เกลียวแอลฟาแบบเวียนขวา (right-handed a helix)จากการศึกษาโครงสร้างของโปรตีนชนิดต่างๆ พบว่า เกลียวแอลฟาเป็นโครงสร้างพื้นฐานทั้งในโปรตีนเส้นใย (fibrous protein) และในโปรตีนก้อนกลม (globular protein) ในโปรตีนประเภทหลังนี้ มักจะพบสายเกลียวแทรกอยู่เป็นระยะๆ ร่วมกับโครงแบบอื่น นอกจากเกลียวแอลฟาแล้ว เรายังพบเกลียวในลักษณะอื่นๆ ซึ่งมีอยู่ไม่มาก และมีความแตกต่างกันไป
โครงสร้างรูปเบตา (b structure)ในปีเดียวกันที่เสนอโครงสร้างรูปเกลียวแอลฟา ได้เสนอโครงสร้างรูปแผ่นพับเบตา (b pleated sheet) แผ่นผับเบตามีพันธะไฮโครเจนเกิดขึ้นระหว่างสายของพอลิเพปไทด์ที่อยู่ใกล้กัน เมื่อมีพอลิเพปไทด์มากกว่า 2 สาย มาเรียงกันเข้าจะได้ลักษณะเป็นแผ่น ซึ่งมีรอยพับตรงตำแหน่ง Cα
โครงสร้างแผ่นพับ b สามารถจัดได้เป็น 2 ประเภท คือ แบบสวนขนาน (antiparallel) ซึ่งสายพอลิเพปไทด์ที่มาสร้างพันธะไฮโดรเจนต่อกันนั้นวิ่งขนานกันแต่กลับทิศกัน และแบบขนาน (parallel) สายพอลิเพปไทด์วิ่งขนานกันไปในทิศเดียวกัน พอลิเพปไทด์สายเดียวอาจมีโครงสร้างแบบแผ่นวิ่งกลับทิศกันได้ต้องมีตำแหน่งที่สายนั้นวกกลับ เรียกบริเวณนั้นว่า จุดวกกลับ (hairpin turn) โครงสร้างแบบแผ่นที่วิ่งไปในทิศเดียวกัน จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีส่วนหนึ่งของสายเพปไทด์ที่ยาวพอ ที่จะโค้งกลับในลักษณะคล้ายสะพานข้าม (cross-over commection) กลับมาที่จุดตั้งต้นของแผ่นพับเบตาส่วนแรก
โครงสร้างตติยภูมิ (Tertiary structure)
โครงสร้างตติยภูมิเป็นการจัดตัวของโปรตีนในรูปสามมิติซึ่งเกิดจากการนำเอาโครงสร้างระดับทุติยภูมิมารวมกับการบิดเบนของสายเพปไทด์ เพื่ให้วางหมู่โซ่ข้างของกรดอะมิโนให้อยู่ในตำแหน่งที่เสถียร ประมาณปี ค.ศ. 1960 มีผู้ศึกษาโครงสร้างของไมโอโกลบิน (myoglobin) จากปลาวาฬสเปิร์ม (sperm whale) ด้วยเทคนิคการเลียวเบนรังสีเอกซ์ โดยนำไมโอโกลบินที่บริสุทธิ์มาตกผลึก นำผลึกที่ได้มาผ่านรังสีเอกซ์ และเก็บภาพการเลี้ยวเบนของแสงด้วยแผ่นฟิล์ม ซึ่งจะเห็นเป็นจุดด่าง ๆ มากมายเมื่อนำความเข้มและมุมหักเหของแสงที่เลี้ยวเบนมาคำนวณ จะได้แผนผังความหนาแน่นของอิเล็กตรอน (electron density map) เป็นรูปสามมิติจากการวางกรดอะมิโนต่างๆ ของโครงสร้างปฐมภูมิลงบนแผนผังดังกล่าว จะได้โครงสร้างตติยภูมิออกมา พบว่าโมเลกุลของไมโอโกลบินประกอบไปด้วยเกลียวแอลฟา และมีบางส่วนของสายพอลิเพปไทด์พันทบไปมาส่งผลให้รูปร่างโมเลกุลเป็นก้อนกลม
โครงสร้างจตุรภูมิ (Quaternary structure) โปรตีนบางชนิดจะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในสภาพตติยภูมิ อย่างไรก็ตามยังมีโปรตีนอีกเป็นจำนวนมากที่มีหลายหน่วยย่อย (subunit) เข้ามารวมตัวกัน เพื่อทำงานอันใดอันหนึ่ง โครงสร้างของโปรตีนในรูปนี้เรียกว่า โครงสร้างระดับจตุรภูมิ ซึ่งเกิดจากหน่วยย่อยที่อาจเหมือนกันหรือต่างกันแล้วแต่ชนิดของโปรตีนนั้น ๆ และบริเวณผิวหน้าของโมเลกุลส่วนที่สัมผัสกันนั้น อาจเกิดขึ้นจากพันธะไฮโดรโฟบิก พันธะไฮโดรเจน และในบางกรณีเป็นพันธะไดซัลไฟด์ การที่มีโมเลกุลของโปรตีนเหล่านี้เข้ามารวมตัวในระดับจตุรภูมิ ช่วยให้การทำหน้าที่ของโปรตีนเหล่านี้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ทำให้เกิดการร่วมมือกัน (cooperativity) หรือเกิดการควบคุม (regulation) ให้ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลาย ๆ อย่างได้ โปรตีนที่ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาเคมีในเซลล์ หรือที่รู้จักกันในชื่อเอนไซม์หลายชนิด เช่น แลกเตตดีไฮโดรจีเนส (lactatedehydrogenase) และแอสพาร์เตตทรานส์คาร์บาโมอิเลส (aspartate transcarbamoylase) มีโครงสร้างระดับจตุรภูมิ แลกเตตดีไฮโดรจีเนสประกอบด้วยสายพอลิเพปไทด์ 2 ชนิด มาอยู่รวมกัน 4 สายในสัดส่วนต่าง ๆแอสพาร์เตตทรานส์คาร์บาโมอิเลสก็ประกอบด้วยพอลิเพปไทด์ 2 ชนิด ชนิดหนึ่งอยู่เป็นสองสายหรือไดเมอร์ (dimmer) อีกชนิหนึ่งอยู่เป็นสามสายหรือไทรเมอร์ (Trimer) ไดเมอร์และไทรเมอร์มาอยู่รวมกันเป็น 12 สาย
ที่มา http://www.lks.ac.th/student/kroo_su/chem8/dream/5.html

วันอังคารที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ขัอสอบ o-net สารชีวโมเลกุล 2550


ตอบขัอ 2
สารชีวโมเลกุล (อังกฤษ: biomolecule) หมายถึง สารอินทรีย์ที่สิ่งมีชีวิตสังเคราะห์ขึ้นเท่านั้น เช่น ไขมัน น้ำมัน โปรตีน คาร์โบไฮเดรต กรดนิวคลีอิก จัดเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย มีโมเลกุลตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่มาก มีธาตุไฮโดรเจนและคาร์บอนเป็นองค์ประกอบหลักแต่ละชนิดมีโครงสร้าง สมบัติและปฏิกิริยาที่ต่างกัน ทำให้มีหน้าทีและประโยชน์ต่อร่างกายแตกต่างกันไป
วโมเลกุลมีความจำเป็นสำหรับการดำรงอยู่ของชีวิต ตัวอย่างเช่นมนุษย์ มีผิวหนังและขน ส่วนประกอบหลักของขนคือเคอราติน (keratin) ที่เกิดจากการจับกลุ่มกันเป็นก้อนของโปรตีน ซึ่งตัวมันเองก็เป็นพอลิเมอร์ที่ถูกสร้างจากกรดอะมิโน โดยกรดอะมิโนนั้นเปรียบเสมือนก้อนอิฐที่สำคัญในธรรมชาติที่จะประกอบ กันเป็นโมเลกุล ใหญ่ รูปแบบของก้อนอิฐอีกตัวหนึ่งคือ นิวคลีโอไทด์ (nucleotide) ซึ่งมีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ส่วนคือ
พูรีน (purine) หรือ ไพริมิดีน(pyrimidine) ซึ่งเป็นด่าง
น้ำตาล เพนโตส
ฟอสเฟตกรุป ความหมายของสารชีวโมเลกุล
ลักษณะที่สำคัญของสารชีวโมเลกุลเป็นดังนี้[1]
ประกอบด้วยธาตุขนาดเล็ก มีมวลโมเลกุลต่ำ เช่น C, H, O, N, S, P ธาตุชนิดอื่นมีพบบ้าง (เช่น Fe, Cu, Zn) แต่จัดว่าน้อยเมื่อเทียบกับน้ำหนักของร่างกาย แต่ก็มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตด้วย
เป็นสารประกอบของคาร์บอน โดยคาร์บอนจะเชื่อมต่อกันด้วยพันธะโควาเลนต์เกิดเป็นโครงร่างคาร์บอน จากนั้นอะตอมอื่นๆจะเติมเข้ามาในโครงร่างคาร์บอนนี้
อะตอมที่เติมเข้ามาเรียกว่าหมู่ฟังก์ชัน (functional group) ซึ่งเป็นตัวกำหนดลักษณะเฉพาะของโมเลกุลนั้นๆ
สารชีวโมเลกุลจะมีโครงสร้างสามมิติซึ่งมีบทบาทสำคัญในการทำงาน
สารชีวโมเลกุลส่วนใหญ่อยู่ในรูปอสมมาตร
สารชีวโมเลกุลจะเกิดจากหน่วยขนาดเล็ก (monomer) ที่มีโครงสร้างใกล้เคียงกัน จัดเรียงตัวเป็นโมเลกุลที่ใหญ่ขึ้น (polymer) การรวมตัวกันนี้ต้องใช้พลังงาน ส่วนการย่อยสลายโพลีเมอร์จะได้พลังงาน วโมเลกุลขนาดต่างๆ ที่พบในธรรมชาติมีดังนี้:
โมเลกุลขนาดเล็ก:
ลิพิด, ฟอสโฟลิพิด, ไกลโคลิพิด, สเตอรอล
ไวตามิน
ฮอร์โมน, นิวโรทรานสมิตเตอร์
คาร์โบไฮเดรต, น้ำตาล
ไดแซคคาไรด์
โมโนเมอร์:
กรดอะมิโน
นิวคลีโอไทด์
ฟอสเฟต
โมโนแซคคาไรด์
พอลิเมอร์:
เปปไทด์, โอลิโกเปปไทด์, พอลิเปปไทด์, โปรตีน
กรดนิวคลีอิก, ได้แก่ DNA, RNA
โอลิโกแซคคาไรด์, พอลิแซคคาไรด์
แมคโครโมเลกุล:
พรีออน (Prion)
เอนไซม์
คาร์โบไฮเดรต
ดูบทความหลักที่ คาร์โบไฮเดรต
คาร์โบไฮเดรต เป็นสารอินทรีย์ที่ประกอบด้วย ธาตุ คาร์บอน (C) ไฮโดรเจน (H) และ ออกซิเจน (O) มีโ มเลกุลตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่มาก เป็นสารอาหารที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อสิ่งมีชีวิต เนื่องจาก เป็นสารอาหารสำคัญที่ให้พลังงาน และทำหน้าที่เป็นองค์ประกอบของเซลล์ต่าง และน้ำไขข้อในสัตว์
คาร์โบไฮเดรตสามารถจำแนกตามสมบัติทางกายภาพและ ทางเคมี ได้ 2 พวก คือ
พวกที่เป็นน้ำตาล
พวกที่ไม่ใช่น้ำตาล (แป้ง และเซลลูโลส)
คาร์โบไฮเดรตสามารถจำแนกตามโมเลกุล สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
โมโนแซคคาไรด์ (Monosaccharide) เป็นคาร์โบไฮเดรตในรูปน้ำตาลธรรมดาที่สุด (simple sugars) ตัวอย่างของ โมโนแซคคาไรด์ คือ
เฮกโซส (hexose) ได้แก่
กลูโคส (glucose)
ฟรุกโตส (fructose)
แกแลคโตส (galactose)
เพนโตส (pentose) ได้แก่
ไรโบส (ribose)
ดีออกซิไรโบส (deoxyribose)
ไดแซ็กคาไรด์ (Disaccharide) เกิดจากการรวมตัวกันของ โมโนแซคคาไรด์ 2 โมเลกุลตัวอย่างของ ไดแซคคาไรด์ คือ
ซูโครส (sucrose)
มอลโตส (maltose)
แลคโตส (lactose)
พอลิแซ็กคาไรด์ (Polysaccharide) เป็นการเชื่อมต่อกันของโมเลกุล โมโนแซคคาไรด์ เป็นสารประกอบซับซ้อนคาร์โบไฮเดรตที่ไม่มีรสหวาน เป็นโมเลกุลขนาดใหญ่ที่มีกิ่งก้านสาขาเชื่อมต่อ ไม่ละลายน้ำ ไม่เป็นผลึก ตัวอย่างของ พอลิแซคคาไรด์ คือ
แป้ง (starch)
เซลลูโลส (cellulose)
ไกลโคเจน (glycogen)
ไขมัน
ดูบทความหลักที่ ไขมัน
ไขมันประกอบด้วย คาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน โมเลกุลของไขมัน ประกอบด้วยกรีเซอรีน 1 โมเลกุล และกรดไขมัน 3 โมเลกุล ซึ่งอาจเป็นกรดไขมันชนิดเดียวกันหรือต่างกันได้ ไขมันมีหลายชนิด แล้วแต่ชนิดของกรดไขมันที่เป็นส่วนประกอบ ไขมันในอาหาร ประกอบด้วย ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides) เป็นส่วนใหญ่ และ โคเลสเตอรอล (Cholesterol) เป็นส่วนน้อย ไตรกลีเซอไรด์เมื่ออยู่ในรูปของแข็งที่อุณหภูมิห้องปกติจะเรียกว่าไขมัน(Fat) หากเป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้องปกติจะเรียกว่าน้ำมัน(Oil)
โคเลสเตอรอล
เป็นไขมันที่ไม่จัดเป็นสารอาหาร เนื่องจากในร่างกายสร้างได้เองและเพียงพอ ไม่มีในพืช มีแต่ในสัตว์ ได้แก่ สมอง ไข่แดง หอย กุ้ง ปู เนย เครื่องในสัตว์ เป็นสารเบื้องต้นในการสร้างฮอร์โมนเพศทุกชนิด สร้างน้ำดี ฯลฯ กรดไขมันอิ่มตัวจะรวมตัวกับโคเลสเตอรอล เกาะตามผนังหลอดเลือด ทำให้เกิดการอุตัน การรับประทานกรดไขมันจำเป็น เช่น ไลโนเรอิก จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดอุดตันได้ ไตรกลีเซอไรด์เป็นไขมันที่เกิดจากปฏิกิริยาเคมีระหว่างกรดไขมันกับกลีเซอรอล เป็นส่วนใหญ่ของไขมันที่อยู่ในอาหาร และเป็นองค์ประกอบถึง 99% ในน้ำมันพืช เป็นแหล่งพลังงาน ที่สำคัญ
ไขมันทั่วไป เกิดจากกรดไขมันกับแอลลกอฮอล์ ในโมเลกุลไขมันจะประกอบด้วย กลีเซอรอล และกรดไขมัน แบ่งออกเป็นสามชนิดคือ
ไขมัน
น้ำมัน
ขี้ผึ้ง
ไขมันเชิงประกอบ
ไขมันเชิงประกอบ เป็นไขมันที่สารอื่นอยู่ด้วยนอกเหนือจาก คาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน PO4 , N, S เช่นฟอสฟอลิปิด ส่วนใหญ่ฟอสฟอลิปิดจะเป็นองค์ประกอบหลักของเยื่อหุ้มเซลต่างๆ
ไขมันอื่นๆ ได้จาก 2 พวก แรกทำปฏิกิริยากัน
กรดไขมัน
ดูบทความหลักที่ กรดไขมัน
กรดไขมัน เป็นกรดที่เกิดในธรรมชาติจากการไฮโดรลิซิสไตรกลีเซอไรด์ กรดไขมันที่พบโดยทั่วไปจะมีจำนวนของคาร์บอนเป็นเลขคู่ ที่พบมากคือ 16 หรือ 18 อะตอม กรดไขมันในธรรมชาติมีประมาณ 40 ชนิด มีโครงสร้างที่ประกอบด้วยโซ่ยาวซึ่งเกิดจากธาตุคาร์บอน และหมู่คาร์บอกซิลซึ่งมีสมบัติเป็นกรด กรดไขมันแบ่งออกเป็น2ประเภท คือ
กรดไขมันอิ่มตัว (saturated fatty acids) เป็นกรดไขมันที่มีพันธะระหว่างคาร์บอนเป็นพันธะเดี่ยวทุกพันธะ กรดไขมันอิ่มตัวที่พบมากที่สุด ได้แก่ กรดสเตียริก กรดไขมันอิ่มตัวพบมากในไขมันสัตว์และน้ำมันมะพร้าว
กรดไขมันไม่อิ่มตัว (unsaturated fatty acids) เป็นกรดไขมันที่มีพันธะระหว่างคาร์บอนอย่างน้อย 1 ตำแหน่งที่เป็นพันธะคู่ กรดไขมันไม่อิ่มตัวที่พบมากที่สุด ได้แก่ กรดโอเลอิก กรดไขมันไม่อิ่มตัวพบมากในน้ำมันจากพืช สามารถใช้ไอโอดีนทดสอบได้
ฮอร์โมน (Hormones)
ฮอร์โมน ถูกผลิตใน ต่อมไร้ท่อ และถูกปลดปล่อยออกมาสู่กระแสเลือด มันมีหน้าที่หลากหลายในหลายอวัยวะประกอบด้วยการควบคุม เส้นทางการเผาผลาญ (metabolic pathway) และควบคุมกระบวนการขนส่งผ่านเมมเบรน ฮอร์โมน อาจแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มโครงสร้างดังนี้:
สเตอรอยด์ (steroid) เป็นประเภทหนึ่งของฮอร์โมนที่มีหลายหน้าที่ และสเตอรอยด์ทุกตัวจะถูกผลิตจาก คอเลสเตอรอล
อะมีนธรรมดา หรือ กรดอะมิโน
เปปไทด์ หรือ โปรตีน
โปรตีน
ดูบทความหลักที่ โปรตีน
โปรตีน คือ สารชีวโมเลกุลประเภทสารอินทรีย์ที่ประกอบด้วยธาตุ C, H, O, N เป็นองค์ประกอบสำคัญนอกจากนั้นยังมีธาตุอื่น ๆ เช่น S, P, Fe, Zn ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของโปรตีน
องค์ประกอบย่อยของโปรตีนเรียกว่ากรดอะมิโน โปรตีนและเพปไทด์ ประกอบด้วยกรดอะมิโนเรียงตัวกันเป็นสายยาวโดยมีพันธะเพปไทด์เป็นพันธะเชื่อมโยง พันธะเพปไทด์ เป็นพันธะเอไมด์ ที่เกิดจากการรวมตัวกันของหมู่คาร์บอกซิลของกรดอะมิโนตัวที่หนึ่งกับหมู่อะมิโนของกรดอะมิโนตัวถัดไปและมีการสูญเสียน้ำหนึ่งโมเลกุล
เอนไซม์
ดูบทความหลักที่ เอนไซม์
เอนไซม์เป็นโปรตีนชนิดหนึ่ง แต่เป็นโปรตีนที่ทำหน้าที่เชิงชีวภาพเฉพาะ ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในสิ่งมีชีวิต
กรดนิวคลีอิก
ดูบทความหลักที่ กรดนิวคลีอิก
กรดนิวคลีอิก ( nucleic acid ) เป็นสารชีวโมเลกุลที่มีขนาดใหญ่ทำหน้าที่เก็บและถ่ายทอดข้อมูลทางพันธุ์กรรมของสิ่งมีชีวิต จากรุ่นหนึ่งไปยังรุ่นต่อไปให้แสดงลักษณะต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตและกระบวนการต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต กรดนิวคลีอิกมี 2 ชนิดคือ DNA ( deoxyribonucleic acid ) และ RNA ( ribonucleic acid ) โมเลกุลของกรดนิวคลีอิก ประกอบด้วยหน่วยย่อยที่เรียกว่า นิวคลีโอไทด์ ( nucleotide ) โมเลกุล DNA ประกอบด้วยพอลินิวคลีโอไทด์ 2 สายเรียงตัวสลับทิศทางกันและมีส่วนของเบสเชื่อมต่อกันด้วยพันธะไฮโดรเจนโมเลกุลบิดเป็นเกลียวคล้ายบันไดเวียน ส่วนRNA เป็นพอลินิวคลีอิกเพียงสายเดียว DNA และRNA มีน้ำตาลที่เป็นองค์ประกอบต่างกันใน DNA เป็นน้ำตาลดีออกซีไรโบส ( deoxyribose sugar ) ส่วนในRNA เป็นน้ำตาลไรโบส (ribose sugar) เบสที่พบใน DNA และ RNA มีบางชนิดที่เหมือนกัน และบางชนิดต่างกัน
นิวคลีโอไซด์ และ นิวคลีโอไทด์
ดูบทความหลักที่ นิวคลีโอไทด์
นิวคลีโอไซด์ เป็นโมเลกุลที่เกิดจากการเชื่อมต่อกันระหว่าง นิวคลีโอเบส(nucleobase) กับวงแหวน ไรโบส (ribose) ตัวอย่างเช่น
ไซติดีน (cytidine)
ยูริดีน (uridine)
อะดีโนซีน (adenosine)
กัวโนซีน (guanosine)
ไทมิดีน (thymidine)
อินอซีน (inosine)
นิวคลีโอไซด์สามารถจะถูก ฟอสฟอริเลต โดยเอนไซม์ ไคเนส ใน เซลล์ และได้เป็น นิวคลีโอไทด์ ซึ่งจะเป็นโมเลกุลพื้นฐานของ DNA (deoxyribonucleic acid) และRNA (ribonucleic acid)

ขัอสอบ o-net สารชีวโมเลกุล2550

ตอบขัอ 1

อินซูลิน มาจากภาษาละติน insula หรือ "island" - "เกาะ" เนื่องจากการถูกสร้างขึ้นบน "เกาะแลงเกอร์ฮานส์" ซึ่งเป็นกลุ่มเซลล์ในตับอ่อน) คือฮอร์โมนชนิดอนาโบลิกโพลีเพบไทด์ ซึ่ทำหน้าที่ควบคุมการเผลาผลาญคาร์โบไฮเดรต นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นสารตัวกระทำในคาร์โบไฮเดรทชนิดโฮมีโอสตาซิส มีผลต่อการเผาผลาญไขมันเปลี่ยนการทำงานของตับให้ทำหน้าที่เก็บหรือปลดปล่อยกลูโคส และทำให้เกิดการทำงานของลิพิด (ไขมัน) ในเลือดและในเนื้อเยื่ออื่น เช่นไขมันและกล้ามเนื้อ ปริมาณของอินซูลินที่เวียนอยู่ในร่างกายมีผลกระทบสูงมากในวงกว้างในทุกส่วนของร่างกาย
ในวงการแพทย์ อินซูลินถูกใช้ในการรักษาโรคเบาหวานบางชนิด คนไข้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานประเภท 1 ต้องอาศัยอินซูลินจากนอกร่างกาย (เกือบทั้งหมดใช้วิธีฉีดเข้าใต้ผิวหนัง) เพื่อช่วยให้รอดชีวีตจากการขาดฮอร์โมน คนไข้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 จะต่อต้านอินซูลิน หรือ ผลิตอินซูลินน้อย หรือทั้งสองอย่าง ผู้ป่วยเบาหวานประเภท 2 บางรายต้องการอินซูลินเฉพาะเมื่อยาอื่นที่ใช้รักษาอยู่ไม่เพียงพอในการควบคุมระดับกลูโคสในเลือด
อินซูลิน ประกอบด้วยกรดอะมิโน 51 ชนิดรวมกันอยู่ และมีน้ำหนักโมเลกุล 5808 Da
โครงสร้างของอินซูลิน ผันแปรเล็กน้อยตามชนิดของสัตว์ อินซูลินที่มีแหล่งมาจากสัตว์จะแตกต่างกันในเชิงขีดความสามารถในการควบคุมพลังการทำงาน (เช่น การเผาผลาญคาร์โบไฮเดรท) ในมนุษย์ อินซูลินจากสุกรมีความคล้ายคลึงกับอินซูลินของมนุษย์มากที่สุด

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%8B%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%99