วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประเมินผลงาน100 คะแนน

ขอให้เพื่อนๆครูญาติและผู้มีเกียรติทั้งหลายร่วมประเมินผลงาน โดยคะแนนเดิม 100 คะแนน
ขอขอบคุณทุกท่าน

วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

สูตรไขมัน

1.http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet5/topic8/fat.html

2.http://www.srikoonclub.com/svbs28.html

3.http://www.room601.ob.tc/Lipid.html

4.http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science04/48/2/team/page/h3.html

5.http://www.ffcnulife.com/content-%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99(EFA)%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3-4-2269-36031-1.html

6.http://www.rbru.ac.th/courseware/science/4031102/lesson1/lesson1.8.html

เฮกเซน

1.http://www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=1&ID=92



2.http://th.wikipedia.org/wiki/ตัวทำละลาย



3. http://library.uru.ac.th/webdb/images/charpa_capro.html

ตอบข้อ 3
สารชีวโมลกุล คือสารประกอบอินทรีย์อยู่ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ได้แก่ C O H ยังมีธาตุอื่นๆ
เชน N S P Fe สามารถแบ่งตามกลุ่มต่างๆ โดยการจำแนกประเภทของอาหารออกเป็น
1. การให้พลังงาน ได้แก่
1.1 สารอาหารประเภทให้พลังงาน คือ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน
1.2 สารอาหารประเภทไม่ให้พลังงาน คือ วิตามิน เกลือแร่ น้ำ
2. สารเคมี ได้แก่
2.1 สารอินทรีย์ เป็นสารอาหารที่มี C H O และ N เป็นองค์ประกอบหลัก ที่สำคัญ
ซึ่งได้จากสิ่งมีชีวิต ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน และวิตามิน
2.2 สารอนินทรีย์ เป็นสารที่มีธาตุเป็นองค์ประกอบ ซึ่งได้จากสิ่งมีชีวิต ได้แก่เกลือแร่ และน้ำ
สารที่ให้พลังงาน
1. คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrade) เป็นสารอาหารหลักที่ให้พลังงานกับสิ่งมีชีวิต ให้พลังงาน 4 กิโลแครอลี/กรัม
เป็นสารอินทรีย์ที่ประกอบด้วยธาตุ C H O โดย C : H = 2 :1 มีสูตรทั่วไปเป็น (CH2 O ) n
คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrade) แบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1.1 น้ำตาลโมเลกุลเดียว (Monosaccharide) ได้แก่ มีสูตรโมเลกุล คือ C6 H12O6
(1) น้ำตาลกลูโคส (Clucose) พบมากที่สุดในธรรมชาติ เช่น องุ่น น้ำผึ้ง
(2) น้ำตาลฟรุกโตส (Frutose) เป็นน้ำตาลที่พบมากในผลไม้ เช่นส้ม แอปเปิ้ล
(3) น้ำตาลกาแลกโตส (Galatose) เป็นน้ำตาลที่พบในน้ำนม
1.2 น้ำตาลโมเลกุลคู่ (Disaccharide) เป็นคาร์โบไอเดรตที่มีโมเลกุลใหญ่ เกิดจากการรวมตัวกันของน้ำตาลโมเลกุลเดียว 2 โมเลกุล เซื่อมต่อกันด้วยพันธะทางเคมีที่เรียกว่า พันธะไกลโคซิติก ทำให้เกิดน้ำ 1 โมเลกุล มีสูตรทั่วไป
C12 H22O11 ได้แก่
(1) น้ำตาลมอลโตส(Maltose) เกิดจากการรวมตัวกันของน้ำตาลกลูโคส 2 โมเลกุล พบมากในข้าวชนิดต่างๆ
(2) น้ำตาลซูโคส (Cucrose) เกิดจากการรวมตัวกันของกลูโคส กับฟรุกโตส อย่างละ 1 โมเลกุล พบมากในอ้อย
(3) น้ำตาลแลกโตส(Lactose) เกิดจากการรวมตัวกันของ กลูโคส กับกาแลกโตส อย่างละ 1 โมเลกุลพบมากในน้ำนม
การทดสอบน้ำตาลโมลกุลเดียวและคู่ โดยใช้สารเบเนดิกส์ต้มกับสารละลาย ถ้าสารนั้นมีน้ำตาลจะให้สีแดงหรือสีแดงอมส้ม โดยสีนั้นจะค่อยๆจางลงเมื่อมีปริมาณน้ำตาลอยู่เพียงเล็กน้อย
1.2 น้ำตาลโมเลกุลใหญ่ (Polysaccharide) เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีขนาดใหญ่ที่สุด โดยเป็นสร้างโครงสร้างในพืช
และสัตว์ ไม่มีรสหวาน ไม่ตกผลึก ไม่ละลายน้ำ โดยเป็นแหล่งเก็บสะสมอาหาร น้ำตาลโมเลกุลใหญ่ได้แก่
(1) แป้ง ประกอบด้วยกลูโคสเชื่อมต่อกันเป็นสายยาว มีกิ่งกานสาขา พบมากในเมล็ดพืชทุกชนิด และผัก
การทดสอบแป้งโดยใช้ สารไอโอดีน จะเกิดสีน้ำเงิน
(2) ไกลโคเจน (Glycogen) เป็นคาร์โบไฮเดรตที่พบในเซลล์สัตว์ โดยร่างกายจะนำมาใช้ขณะขาดแคลนกลูโคส
และรักษาระดับกลูโคสในเลือดให้คงที่
การทดสอบไกลโคเจนโดยใช้ สารไอโอดีน จะเกิดสีแดง
(3) เซลลูโลส เป็นคาร์โบไฮเดรตที่พบมาที่สุดในธรรมชาติ ซึ่งเป็นส่วนประกอบในโครงสร้างที่ช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับเนื้อเยื่อของพืช
(4) ลิกนิน เป็นคาร์โบไฮเดรตที่เสริมสร้างความแข็งแรงของเนื้อเยื่อพืช พบสะสมอยู่ตามผนังเซลล์ของพืช
(5) ไคติน เป็นโครงสร้างของสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่นเปลือกกุ้ง กระดองปู
2 โปรตีน(Protein) เป็นองค์ประกอบอินทรีย์ที่พบมากที่สุดในเซลล์สัตว์ หรือเนื้อเยื่อสิ่งมีชีวิตโดยจะมี 1ใน 7 ของน้ำหนักตัว โปรตีนเป็นองค์ประกอบอินทรีย์ประกอบด้วยธาตุ C H O และ N หรือบางชนิดอาจมีธาตุ P(ฟอสฟอรัส)
S (กำมะถัน)Fe(เหล็ก) แหล่งอาหารที่ให้โปรตีนสูง ได้แก่ ไข่ เนื้อสัตว์ ถั่วเหลือง ถั่วเขียว
โปรตีนประกอบด้วย กรดอมิโน (Amino acid) ต่อกันป็นสายยาว เรียกว่าโพลีเปปไทล์ กรดอมิโนที่รวมตัวกันเป็นโปรตีนมีจำนวน 20 ชนิด โดย NH2 เรียกว่า หมุ่อมิโน (Amino group) ส่วน COOH เรียกว่า หมู่คาร์บอกซิล
สำหรับ -R หมายถึงหมู่ธาตุที่แตกต่างกันไปในกรดอมิโนแต่ละชนิด โปรตีนประกอบด้วยกรดอมิโนที่ติดกันนด้วย เปปไทด์ บอนด์ ซึ่งปฏิกิริยานี้จะมีน้ำเกิดขัน 1 โมเลกุล การรวมตัวกันของกรดอมิโน 2 ชนิดเรียกว่า ไดเปปไทด์
ถ้าประกอบบด้วยกรดอมิโนมากๆๆเรียกว่า โพลีเปปไทด์
กรดอมิโนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
(1) กรดอมิโนที่จำเป็น เป็นกรดอมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย แต่รางกายไม่สามารถสร้างเองได้ เช่น ลูชีน
ไลชีน เมไธโอนีล ทริปโตเฟน
(2) กรดอมิโนที่ไม่จำเป็น เป็นกรดอมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย ซึ่งรางกายสามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้
เช่น เซรีน กลูตามีน ซิสเตอีส กลูตามิก
โปรตีนมีหน้าที่ๆสำคัญ ดังนี้
1. เร่งปฏิกิริยาเคมีในร่างกาย
2. ทำให้เกิดภูมิต้านทานโรค
3. ทำให้เลือดแข็งตัวเมือมีบาดแผล
4. เป็นสารพิษ เช่น พิษงู ฯลฯ
โปรตีนมีประโยชน์ ดังนี้
1. เสริมสร้างและซ่อมแซมการเจริญเติบโต
2. กระตุ้นกระบวนการต่างๆของร่างกาย
3. การให้พลังงานต่อร่างกาย โปรตีน 1 กรัมให้พลังงาน 4.1 กิโลแคลอรี
การทดสอบโปรตีน
กรดไนตริกเข้มข้น จะได้สีเหลือง
สารละลายแอมโมเนีย จะได้ ตะกอนสีส้ม
ไบยูเรต เป็นสารละลายผสมระหว่าง CuSo4 กับ NaOH ป็นสีฟ้า จะได้ตะกอนสีม่วง(โปรตีนที่มีพันธะเปปไทด์ตั้งแต่ 2 พันธะขึ้นไป)
ไขมัน
ประกอบด้วยธาตุ C H O โมเลกุลของไขมันจะมีส่วนประกอบ 2 ส่วน คือ กลีเซอรอล( C3 H6 O3)
และ กรดไขมัน R- COOH
ไขมันมีประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนี้
1. เป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ เพื่อช่วยป้องกันการสูญเสียน้ำออกจากร่างกาย
2. ช่วยป้องกันการกระทบกระเทือนขออวัยวะภายใน เช่น ไขมันในร่องอก
3. เป็นเยื่อหุ้มใยประสาทเพื่อทำให้เซลล์ประสาทส่งกระแสประสาทได้เร็วขึ้น
4. ช่วยละลายวิตามินบางชนิดคือ A D E K รวมทั้งดูดวิตามินทั้ง 4 ชนิด
5. ควบคุมการเจริญและการทำงานขออวัยวะ เช่น ฮอร์โมนเพศ น้ำดี ฯลฯ
กรดไขมันแบ่งประเภทตามความต้องการของร่างกายได้แก่
1. กรดไขมันที่จำเป็น เป็นกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย ซึ่งร่างกายจำเป็นต้องบริโภคเข้าไปเพราะไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้ เช่น กรดไลโนเลอิ
2. กรดไขมันที่ไม่จำเป็น เป็นกรดไขมันที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้ เช่น กรดสเตรียริก
แบ่งกรดไขมันตามคุณสมบัติเป็น 2 ประเภท 1. ชนิดอิ่มตัวเป็นกรดไขมันที่ไม่มีพันธะคู่หมู่ R- จึงไม่สามารถรับ H ได้อีกมีจุดหลอมเหลวสูง แข็งตัวง่าย
ไม่เหม็นหืน ถ้ารับประทานมากๆอาจทำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือด พบในน้ำมันของสัตว์และในน้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม ได้แก่ กรดเสตียริก กรดปาล์มาติก 2. ชนิดไม่อิ่มตัว ป็นกรดไขมันที่พันธะคู่ในมหมู่ R- มีจุดหลอมเหลวต่ำ ละลายง่าย พบได้ในน้ำมันพืชต่างๆ เหม็นหืน ได้แก่ กรดโอเลอิก กรดไลโนเลอิก กรดไลโนเลนิก กรดอะราชิโดนิก